โครงงานการจัดทำเว็บบล็อก
เรื่อง กำเนิดอักษรไทย
ผู้จัดทำ
1.
นายสันติ อัตลัง เลขที่ 1 0
2.
นายธนชัย เอกตาแสง เลขที่ 5
3.
นางสาวนุจิรา บุญหล้า เลขที่ 23
4.
นางสาวทิพย์วิมาน ศรีปากนา เลขที่ 21
5.
นางสาวรัตนา คำมณีจันทร์
เลขที่
6.
นางสาวชลธิชา อินมาเมือง เลขที่
7.
นางสาวปริยภัทร ชนะภัย เลขที่
เสนอ
คุณครูกฤษพล
อินทร์เสนลา
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2
(สมาน สุเมโธ)
ตำบลพระลับ อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น
โครงงานการจัดทำเว็บบล็อกเรื่อง “ กำเนิดอักษรไทย ”
ผู้จัดทำ
1.
นาย สันติ อัตลัง เลขที่ 10
2.
นาย ธนชัย แอกตาแสง เลขที่ 5
3.
นางสาว
ปริยภัทร ชนะภัย เลขที่ 40
4.
นางสาว
รัตนา คำมณีจันทร์ เลขที่
5.
นางาสาว
ชลธิชา อินทร์มาเมือง เลขที่
6.
นางสาว
ทิพย์วิมาน ศรีปากนา เลขที่ 21
7.
นางสาว
นุจิรา บุญหล้า เลขที่ 23
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/2
ที่ปรึกษา
นาย กฤตพล อินทร์เสนลา
จุดประสงค์/วัตถุประสงค์
-
เพื่อศึกษาความรู้ของดีของบล็อก
-
เพื่อให้ทราบถึงการกำเนิดอักษรไทย
-
เพื่อรวบรวมเรียบเรียงเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับบล็อกและอักษรไทย
-
เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงกว่า
หลักการ
เกี่ยวกับบล็อก
บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง
ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน
ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ
ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้
จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล
สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน
ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก"
ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า
"บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก
โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น
การเผยแพร่ผลงาน
การใช้งานบล็อก
ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
เกี่ยวกับการกำเนิดอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ
และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว
ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
"เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)
ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
1.
อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด
มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น
ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง Blogger ศึกษาในหัวข้อเรื่องกำเนิดอักษรไทย
การใช้งานบล็อก บล็อกซอฟต์แวร์ ขั้นตอนการสร้าง Blogger
ข้อมูลในบล็อกของกลุ่มบล็อก http://googlenoi.blogspot.com/ ของกลุ่มพวกเราไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของอักษรไทย
อักษรไทยกำเนิดขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้ปะดิษฐ์อักษรไทย อักษรไทยมีทั้งหมดกี่ตัว
เป็นต้น กับการกำเนิดอักษรไทย
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง
Blogger ศึกษาในหัวข้อเรื่อง
กำเนิดอักษรไทยสำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความสนับสนุนและความร่วมมือจากหลายฝ่าย
เริ่มต้นตั้งแต่การถ่ายทอดความรู้จากคุณครูที่ปรึกษา
คุณครูกฤตพล อินทร์เสนลา
ในเรื่องการสร้าง Blogger ขึ้น
เพื่อแนะนำ นำเสนอเกี่ยวกับการกำเนิดอักษรไทยในเรื่องที่ดีมีสาระสำคัญ ร่วมไปถึง
คุณครูอมมรัตน์ พิทักษ์วงษ์ศร
ครูประจำวิชาภาษาไทยที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของอักษรไทย
และต้องขอบคุณสื่อทางอินเทอร์เน็ตที่ให้ข้อมูล
www.google.com http://googlenoi.blogspot.com/ ที่ให้ข้อมูลในการทำโครงงาน
Blogger เล่มนี้
คณะผู้จัดทำโครงงาน Blogger
ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านดังกล่าวข้างต้นไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง
คำนำ
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างบล็อก นำเสนอความรู้ทางเทคโนโลยี
เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี และเพื่อเผยแพร่ความรู้ผู้ทีเข้ามาเยี่ยมชม และในเนื้อหาประกอบด้วย
การใช้งานบล็อก บล็อกซอฟต์แวร์ ขั้นตอนการสร้างบล็อก
รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดอักษรไทยว่ามีความเป็นมาอย่างไร
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานชิ้นนี้จะเกิดประโยชน์แก่ผู้จัดทำ
และผู้เข้ามาเยี่ยมชมและเปิดอ่านเป็นอย่างมาก
คณะผู้จัดทำ
บทที่ 1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน
บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ
เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่ายและสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช่ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์
โดยนอกเหนือจากผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว
ยังได้มาเขียนข่าวอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลหรือแนวคิด
โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสื่อในด้านอื่น
ข่าวที่นิยมบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องซุบซิบวงการดารา
ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองจากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์ทำให้เป็นส่วนกลางใช้ในงานบล็อกเพิ่มขึ้น
มาใช้ของตนเองเพื่อเรียกให้มีการเข้าเว็บไซต์มาขึ้นทั้งผู้เขียนผู้อ่านผู้จัดทำโครงงานจึงคิดที่จะทำบล็อกนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษา
โดยการสร้างบล็อกขึ้น เพื่อให้เผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม
จุดประสงค์/วัตถุประสงค์
-
เพื่อศึกษาความรู้ของดีของบล็อก
-
เพื่อให้ทราบถึงการกำเนิดอักษรไทย
-
เพื่อรวบรวมเรียบเรียงเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับบล็อกและอักษรไทย
-
เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงกว่า
-
เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อศึกษากระบวนการทางเทคโนโลยี
2.เพื่อจัดทำบล็อกไว้ให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชม
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บล็อก
บล็อกมาจากคำผสมคำระหว่าง WEB ( wolrd wied web ) +
LOG (บันทึก) = BLOG คือเว็บไซต์ที่เจ้าของหรือ
Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา
การสร้าเว็บบล็อกสามรถทำได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ไม่สับซ้อน ไม่เสียค่าใช้จ่ายเยอะ
ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา
อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตกับเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก
จะมีระบบจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหลับ เขียนเรื่อง
โพสรูป จัดหมวดหมู่และลูกเล่นอื่นๆ
ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดคนที่เข้ามาเยี่ยมชมจากทั่วโลกให้เข้าไปใช้บริการ
บล็อกสมารถอ่านหรือเขียนโต้ตอบกันได้
โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายของเรื่องนั้นๆบางคนมองว่าการเขียนบล็อกเหมือนกับการเขียนไดอารี่ออนไลน์
แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น
การเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อการเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว
แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวความคิดให้คนอื่นๆ
เช่นคุณครูเปิดบล็อกแนะนำเรื่องเทคนิคการเรียนให้ได้เกรดเฉลี่ยที่ดี เป็นต้น
บล็อกคือสื่อใหม่ (New media)
เป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก
สามารถเป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน
เพราะสามารถสื่อสารกันองได้ในกลุ่มเล็กๆ
หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ถ้าเรื่องไหนเป็นที่ถูกใจของชาวบล็อกชาวเน็ตคนๆนั้นอาจต้องการเปิดใช้บล็อกก็ได้
การใช้งานบล็อก
ผู้ใช้บล็อกจะแก้ไขหรือบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช่งานหรืออ่านเว็บทั่วๆไปโดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน
เช่น บางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อกผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก
และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อนบล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหลับผู้อ่านบล็อกจะใช่งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไปและสามารถแสดงความเห็นได้ส่วนท้ายของแต่ละบล็อกดดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในทางบล็อก
นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบ ฟีด
ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไปทำให้ผู้ใช่สามารถอ่านบล็อกได้ดดยผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่ต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อก
บล็อกซอฟต์แวร์
บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช่ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก
ส่งผลให้ผุ้เขียนบล็อกสามารถใช่งานได้ทันที่โดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล
หรือ
การทำเว็บต์แต่อย่างใดทำให้ผู้เขียนบล็อกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่นๆได้
นอกจากนี้ซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน
และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายรูปแบบให้เลือกใช้
เกี่ยวกับอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826
โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ
และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว
ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
"เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)
ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
1.
อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด
มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น
ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต
วิธีการดำเนินงาน
1.กำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน
2.ศึกษาเรื่องที่จะทำโครงงาน
3.รวบรวมข้อมูล
กิจกรรม
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1.
ประชุมเพื่อศึกษาหารือและวางแผนการดำเนินงาน
|
21-22
มิ.ย. 55
|
คณะผู้จัดทำ
|
2.
เขียนโครงงานเพื่อเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
|
22-30
มิ.ย.55
|
คณะผู้จัดทำ
|
3.
ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ (
ศึกษา สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล )
|
1-5
ก.ค. 55
|
คณะผู้จัดทำ
|
4.
สรุปผลการศึกษา
|
5-10
ก.ค. 55
|
คณะผู้จัดทำ
|
4.ปฏิบัติงาน
บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826
โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ
และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว
ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
"เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ
แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)
ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง
1.
อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด
มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น
ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
2. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3. สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4. สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า
5. สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6. สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7. สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8. ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ
ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ
ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ "ศิลาจารึกหลักที่ 1" เป็นศิลาจารึกหรือบันทึกบนแท่งศิลาที่บันทึกประวัติศาสตร์ในยุคสมัยกรุงสุโขทัย ถือเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย หลักศิลานี้ค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ขณะทรงผนวชอยู่ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376[1]
ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง
1.11 ม. หนา 35 ซม. เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้งสี่ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระนคร กรุงเทพมหานคร
กำเนิดลายสือไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช
๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช
๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ
วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา
โดยอาศัยลายสือไทยของพรองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย
ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด
แต่เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว
มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า
ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้าในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์
ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋
สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า
ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ
แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์
ได้กล่าวไว้ในตำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า คำที่ใช้ในจารึกมีคำ นี้ อยู่ต่อคำ
ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่า
หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า
หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำน้ำยม
ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ (ตำนานอักษรไทย
หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑) ต่อมาขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัย
พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ
แล้วจึงแปลอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด
ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉ่ำ
ทองคำวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำหง”
ไว้ และได้สันนิษฐานว่า
อักษรพ่อขุนรามคำแหงทุกตัวดัดแปลงนาจากอักษรขอมหวัด
หนังสือจินดามณีเล่ม ๑
ของหอสมุดแห่งชาติเลขที่ 11 เป็นสมุดไทยดำ
มีข้อคามเหมือนกับจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช
ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า
ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลยได้แต่งหนังสือไทย แล จ
ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไวแจ้ง อนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา กน ฯ,ฯ ถึงเกอยเมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว
เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามคำแหงมิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น
แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนอักษรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่าเดินอีกปลายประการ
ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้
มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่
ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า
ถ้าลายสือไทยนี้บ่อมี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี
แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว
ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้
จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว
แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า
นี้เป็นแต่คำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้น ที่ว่า
ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว
แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้
(หนังสือรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕)
ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี
คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ
ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้
บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา
ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ.
๑๗๓๓ ส่วนใหญ่เผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม
หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือตำนานเก่า ๆ
ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก
ประวัติศาสตจร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้
ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง
เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน
อีกประการหนึ่ง
ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า
คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่
หรือสิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว
ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง
เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป
ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา
ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า
พระมหาสุมนเถรนำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนา
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒
และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง
และอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม
และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม
ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา
นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุดขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐–๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง
ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย
ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐–๑๙๑๑)
ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง
เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน
และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว
ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว
เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า
เราเคยเขียนคำว่า “น้ำ” บัดนี้ออกเสียเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง
ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง
ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่
เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง
จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น
ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือ ที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น
คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้
คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน
ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม
หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม
หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่
แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ
ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ
ที่อยู่ใกล้เคียงไทย
ยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย
รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ
เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม
แต่หันไปทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีใช้อยู่ก่อนแล้ว
สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ
แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ
แทน อัฏฐ
พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น
โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนังคือ
ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียง อัก-อาก อังอาง อัด-อาด อับ-อาบ
เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดยออกเสียงคำตนสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง
อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว
ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวา (คืออัว)
เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา
ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว
ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า
พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว
พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมากใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียง
ดังตัวอย่างอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙
ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้น
ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย
ทั้งนี้เพราะคนไทยเริ่มจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น
อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่านเชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า
อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว
คุณวิเศษของลายสือไทย
๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหราราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดียวกล่าวคือ
ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ
และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก
อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียเป็น ปีน
เป็น หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียให้ถูกต้อง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะสระอีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น
เป็นต้นว่าได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากะบาท) จนทำให้สามารถเขียนคำไทยได้ทุกคำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจากตา-กลม ทำให้อ่านข้อความได้ถูกต้องไม่กำกวม กล่าวถือ
ถ้าเป็นอักษรควบกล้ำให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ
นำสระมาเรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย
น่าเสียดายที่สระเหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง
ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา
ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย
ซึ่งเป็นต้นตำหรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่
เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว
เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระ
อุ อู วรรณยุกต์ และสระอือ
รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน
ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล
และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล
แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔
ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวกสระบน เช่น สระอี อึ
ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะและครั้งที่สี่กวาดพวกสระล่าง คือ สระ อุ อู
จึงทำให้เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษ
ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว
ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง
ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย
ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ
พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน
ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และไทยใหญ่ เช่น เขียน
อฏฐ แทนที่จะเป็น อฏฐ เซเดย์ได้กล่าวไว้ว่า
การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำคัญยิ่ง
แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ
และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวดขึ้น ข้อนี้ให้มาก
อนึ่ง
ในสยามประเทศทุกวันนี้การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง
เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการนับว่าเพราะพ่อขุนรามคำแหง
ได้ทรงพระราชดำริเปลี่ยนรูปอักษรขอมและเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้
ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว
การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำเริญ
แลยังไม้มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางจอง ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ
แทนที่จะสูงขั้นไปกว่าอักษรตัวอื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ
เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะรวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ
ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง
ข้างบนจะไม่หักหายไปอย่างปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว
พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด
ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น
ทำให้สามารถอ่านความหมายของคำได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค
สมมติว่าเราเข้าใจภาษาไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน
คำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เป็น เป่น เป้น เป๊ เป๋น แปน แป่น
แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น 15 คำ
ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำที่ถูกต้องเป็นคำใดกันแน่
แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว
บทที่5
สรุปผล
การสร้างบล็อกเป็นการสร้างที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไปแม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างได้เหมือนกันผู้ที่มีประสบการณ์สร้างบล็อกมาอย่างเชี่ยวชาญแล้ว
การสร้างบล็อกสามารถให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมได้
และทำให้ผู้จัดทำมีความรู้เกี่ยวกับบล็อกเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลในบล็อกที่ผู้จัดทำได้สร้างไว้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
การกำเนิดอักษรไทย ทำให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาเยี่ยมชม
ได้ข้อมูลมากมายไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับอักษรไทยว่ากำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
เริ่มต้นของอักษรไทยเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และอักษรไทยเริ่มต้นมีกี่ตัว
ในการทำบล็อกผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้อื่นได้
ภาคผนวก
1.
สามารถเปลี่ยนภาษาทางด้าน
ขวาบน ได้หลากภาษาครับ จากนั้นคลิ๊กที่สร้างบล๊อกดังรูปครับ
2.
ตั้งชื่อส่วนหัวของบล๊อก
ตั้งชื่อบล๊อก จากนั้นก็ คลิ๊กดำเนิกการต่อ
ดังรูปครับ
3.
เลือกแม่แบบ หรือ Theme (หน้าตาบล๊อก) จากนั้น คลิ๊ก ดำเนินการต่อ
ดังรูปครับ
4.
เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
คลิ๊ก เริ่มต้นการเขียนบล๊อก ได้ทันทีเลย
ดังรูปครับ
ง่ายมากๆ
เลยใช่ไหมครับ ก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มเขียนบล๊อก ผมแนะนำให้เพื่อนๆศึกษาการใช้งานให้เข้าใจก่อนนะครับ เพื่อทำความเข้าใจและเริ่มต้นสร้างบล๊อกได้อย่างไม่ติดขัดครับ สิ่งที่เพื่อนๆจะต้องศึกษามีดังนี้ครับ อ่านต่อ เรื่องแผงควบคุม (Dashboard)
อ้างอิง
http://www.thaijgoodview.com
http://itoeblog.com